รูปกายวิภาคศาสตร์


         เลือดออกใต้เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ (subperiosteal blood) เกิดจาก
การฉีกขาดของหลอดเลือดดำที่ผ่านจากกะโหลกไปยังเยื่อหุ้มกะโหลก  เนื่องจากกะโหลก
กดกับกระดูกอุ้งเชิงกรานจากการคลอดที่นาน ลำบาก หรือการคลอดด้วยคีม การตรวจ 
พบหนังศีรษะบวมภายหลังคลอดหลาย ๆ ชั่วโมงหรือเป็นวัน ขนาดของก้อนเพิ่มช้า ๆ   
หนังศีรษะที่คลุมก้อนมีสีและลักษณะปรกติ ยกเว้นในรายที่คลอดด้วยคีม อาจมีรอยถลอก
ของหนังศีรษะหรือมีเลือดออกในชั้นไขมันใต้ผิวหนังตำแหน่งของก้อน พบบ่อยที่กระดูก
ข้างขม่อม (parietal bone)  ส่วนน้อยพบที่กระดูกท้ายทอย (occipital bone)  ก้อนมี
ขอบเขตชัดเจน น่วม (fluctuant) ไม่ข้ามรอยประสานกะโหลก (suture) อาจคลำได้ขอบ
เป็นสันเล็กน้อย ซึ่งทำให้รู้สึกเหมือนกะโหลกศีรษะร้าวและถูกกดบุ๋มลง (depressed skull 
fracture) อุบัติการของกะโหลกร้าวพบได้ร้อยละ 5.4    
การป้องกัน	          ผู้ทำคลอดป้องกันภาวะนี้โดยอย่าปล่อยให้การคลอดนานกว่าปรกติ 
                               และผ่าท้องทำคลอดในกรณีที่ประเมินว่าการคลอดลำบาก
การดูแลรักษา      ภาวะนี้ไม่ต้องการการรักษา  การรักษาที่ให้เป็นการรักษาภาวะ
                                แทรกซ้อนที่เกิดจากการสูญเสียเลือดออกนอกหลอดเลือดคือการถ่าย
                                เลือดหากปริมาณเลือดออกมาก การส่องไฟ (phototherapy) จาก
                                ภาวะเหลืองเกิน (hyperbilirubinemia) และการรักษาแผลถลอก 
                                ที่หนังศีรษะด้วยยาต้านจุลชีพชนิดขี้ผึ้ง เช่น bacitracin
การพยากรณ์โรค  เลือดมักถูกดูดซึมหมดใน 2 สัปดาห์ถึง 3 เดือนขึ้นกับขนาด บางราย
                                อาจมีหินปูนเกาะที่ก้อน บางรายปรากฏเป็นปุ่มที่กะโหลกนานหลาย ๆ 
                                เดือน หรืออาจนานเป็นปี ๆ