ตาเป็นหนองใน

 
         การอักเสบจากเชื้อหนองในมักปรากฏวันที่ 2-5 หลังคลอด การตรวจ พบรอบเปลือกตาบวม
แดง หนองมีลัษณะข้นสีเหลืองอมเขียว ปริมาณของหนองมีจำนวนมาก เมื่อแยกเปลือกตา หนอง
จะทะลักออกมา เยื่อบุเปลือกตาบวมและแดงจัด (chemosis) ทำให้มีลักษณะเหมือนผ้ากำมะหยี่
สีแดงจัด  การย้อมแกรมและการเพาะเชื้อพบแบคทีเรียอยู่เป็นคู่ (diplococci) ติดสีแกรมลบ อยู่
ในเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิวล์ หากให้การรักษาช้าหรือไม่ถูกต้อง ภาวะนี้อาจรุนแรงทำให้แก้วตา 
(cornea) อักเสบเกิดแผล (ulcer) และทะลุ การอักเสบอาจลุกลามเข้าไปในตา เกิดการอักเสบใน
ทุกชั้นของลูกตา (panophthalmitis) หรือเชื้อหนองในกระจายในกระแสเลือดและทำให้เกิดข้อ
อักเสบ (arthritis)
การป้องกัน มารดาที่มีการติดเชื้อหนองในต้องรับการรักษาให้หายก่อนคลอด   	
การรักษา   ภาวะนี้ต้องให้การรักษาแก่ทารก มารดาและบิดา ในทารกการรักษาประกอบด้วย 
    1. ทำการเพาะเชื้อจากเลือด หนองที่ตาและน้ำไขสันหลัง และทดสอบความไว (sensitiv test) 
  2. บริหาร aqueous penicllin G 100,000 หน่วย/กก./วัน โดยแบ่งฉีดวันละ 2 ครั้ง ให้ 7 วัน
          หากการอักเสบมีเฉพาะที่ตา และ 10-14 วัน หากมีการกระจายไปในกระแสเลือด 
    3. ล้างตาด้วยน้ำเกลือนอร์มัลบ่อย ๆ  จนกว่าไม่มีหนอง
          การประเมินการตอบสนองต่อการรักษา หากเชื้อไม่ดื้อต่อเพนนิซิลลิน ภายใน 24 ชั่วโมง 
จำนวนหนองจะลดลง การย้อมแกรมจะพบเชื้อหนองในในเม็ดเลือดขาวน้อยมาก  หากอาการ
ไม่ดีขึ้น เกิดจากเชื้อดื้อต่อเพนนิซิลลิน ให้บริหาร 
         Ceftriaxone 25-50 มก./กก./วัน ไม่เกิน 125 มก. ทางหลอดเลือดหรือเข้ากล้าม หนึ่งครั้ง 
สำหรับทารกที่ไม่มีบิลิรูบินในเลือดเกิน (hyperbilirubinemia) หรือ Cefotaxime 100 มก./กก. 
ทางกล้ามหรือทางหลอดเลือดดำครั้งเดียว  
         หากมีการแพร่กระจายให้ Ceftriaxone 25-50 มก./กก./วัน ทางหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้าม 
ให้วันละครั้ง 7 วัน หรือ  Cefotaxime 100 มก./กก./วัน แบ่งให้ 2 ครั้ง ทางกล้ามหรือทางหลอด
เลือดดำ ให้ 7 วัน หากมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย ให้ฉีดยานาน 10-14 วัน