เมื่อแรกเกิดลิ้นของทารกจะสั้น เมื่อทารกเติบโต ลิ้นจะยาวออกและบางลงไปทางปลายลิ้น 
และเยื่อบุที่มีลักษณะเป็นแผ่น (mucous membrane fold) ที่อยู่ใต้ลิ้น (lingual frenulum) 
และยึดใต้ลิ้นกับพื้นของช่องปาก จะอยู่ห่างจากปลายลิ้นชัดเจน  ลิ้นถูกตรึงเกิดจากเยื่อบุที่ยึดใต้ลิ้น
กับพื้นของช่องปากสั้นและ/หรือหนากว่าปรกติ ปรกติไม่ทำให้เกิดความผิดปรกติใด ๆ จึงไม่ต้องให้
การรักษา ยกเว้นในรายที่มีการขัดขวางการดูดนมแม่ในวัยแรกเกิด เนื่องจากการดูดนมแม่ ปลายลิ้น
ของทารกต้องยื่นออกมาอยู่บนขอบของเหงือกล่าง หรือทำให้พูดไม่ชัดเมื่อโต  หากเวลาร้องทารก
แรกเกิดสามารถแลบลิ้นพ้นลิ้มผีปาก หรือเด็กโตสามารถกระดกลิ้นให้แตะเพดาน หรือแลบลิ้นเพื่อ
เลียริมฝีปากบนได้ถือว่าปรกติ  หากลิ้นถูกยึดจริง การผ่าตัดจะทำเมื่ออายุ 2-3 ปี