คอเอียง


         สาเหตุที่พบบ่อยของคอเอียงในทารกแรกเกิด เกิดจากความผิดปรกติของกล้ามเนื้อ 
 sternocleidomastoid ที่มีความยาวสั้นกว่าปรกติ กล้ามเนื้อมัดนี้ยึดระหว่างปุ่มกระดูกมาส
 ตอยด์ (mastoid bone) ซึ่งอยู่ใกล้หลังใบหู กับขอบบนของกระดูกสันอก (manubrium) มีผล
 ให้ศีรษะเอียงไปทางด้านที่กล้ามเนื้อผิดปรกติ และคางหันทางด้านตรงข้าม
 

ก้อนที่กล้ามเนื้อ


        สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่ทราบแน่นอน  อาจเกิดจากท่าผิดปรกติขณะอยู่ในครรภ์ 
(intrauterine malposition) กล้ามเนื้อเป็นพังผืด (muscle fibrosis)  หลอดเลือดดำใน
กล้ามเนื้อผิดปรกติ หรือบาดแผลจากการคลอด (birth trauma) ทำให้มีเลือดออกใน
กล้ามเนื้อและกล้ามเนื้อมีการหดค้าง (contracture)  
การตรวจ   พบกล้ามเนื้อมัดดังกล่าวแข็งตึง อาจคลำได้ก้อนมีรูปร่างกลมและแข็งอยู่ใน
                   กล้ามเนื้อระหว่าง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด ใบหน้ามักจะไม่เท่ากัน หาก
                   ไม่แก้ไข สามารถทำให้ใบหน้าสองข้างไม่เท่ากัน (facial asymmetry)  
            อาจยืนยันว่าไม่มีความผิดปรกติของความผิดปรกติของกระดูกสันหลังส่วนคอ 
                   (congenital cervical spine anomaly) โดยการถ่ายภาพรังสีด้านหน้าและ
                   ด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนคอ
การรักษา   บริหารกล้ามเนื้อโดยการเหยียดกล้ามเนื้อมัดที่ผิดปรกติให้ยาวขึ้น โดยจับศีรษะ
                    และคางให้หันไปทางด้านที่กล้ามเนื้อผิดปรกติ และค้างไว้นาน 5-10 วินาที 
                    ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง วันละ 4 ครั้ง ร่วมกับจัดให้ทารกนอนหันหน้าไปทางด้านที่
                    ผิดปรกติ  การบริหารกล้ามเนื้อจะเห็นผลใน 6 เดือน หากไม่ดีขึ้น ให้รักษาโดย
                    การผ่าตัดกล้ามเนื้อ