ความสามารถในการปรับตัวของทารกแรกเกิดเพื่อให้มีอุณหภูมิกายปรกติ (อุณหภูมิ
ทวารหนัก 37.0 o ซ) มีจำกัด การป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำหรืออุณหภูมิกายสูงในทารก
แรกเกิดที่อยู่ในโรงพยาบาล ต้องปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ทารกอยู่ให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ
กับอายุหลังคลอด อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่พอเหมาะสำหรับทารกครบกำหนด มีดังนี้
 
อายุ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ( o ซ) อายุ อุณหภูมิสิ่งแวดล้อม ( o ซ)
0-6 ชม. 32.0-33.8 48-72 ชม. 30.1-33.2
6-12 ชม. 31.4-33.8 72-96 ชม. 29.8-32.8
12-24 ชม. 31.0-33.7 4-12  วัน 29.0-32.6
24-36 ชม. 30.7-33.5 12-14 วัน 29.0-30.8
36-48 ชม. 30.5-33.3    
 

อุณหภูมิกายไม่คงที่ (เส้นสีแดง)

อุณหภูมิคงที่ (เส้นสีแดง)


         การดูแลอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ทารกอยู่ให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติมีความสำคัญ ไม่ว่าอุณหภูมิ
ที่เย็นไป เนื่องจากการใช้เครื่องปรับอากาศ หรือร้อนไปเนื่องจากฤดูกาลหรือใส่เสื้อผ้าและห่มผ้า
โดยไม่จำเป็นเวลาอากาศร้อนล้วนมีผลให้ทารกเจ็บป่วยทั้งสิ้น รูปซ้ายมือแสดงการควบคุม
สิ่งแวดล้อมไม่ดีทำให้ทารกมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกายมาก มีทั้งสูงไป (เกิน 37.5 o ซ) 
และต่ำไป (ต่ำกว่า 36.5 o ซ)  รูปขวามือแสดงการควบคุมอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ดีทำให้ทารก
มีอุณหภูมิคงที่

ทารกอยู่ในที่นอน

              		
         ภาวะอุณหภูมิกายสูงในทารกแรกเกิด หมายถึงอุณหภูมิทวารหนักเกิน 37.5 o ซ 
สาเหตุที่สำคัญและมีอันตรายถึงชีวิตคือการติดเชื้อแบคทีเรียในเลือด (sepsis)  ที่ไม่ได้เกิดจาก
และพบบ่อยกว่าการติดเชื้อคือการอยู่ในอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมที่ร้อนไป ในบ้านเราพบภาวะนี้
ได้บ่อย และทารกมักถูกรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาลซึ่งทำให้ทารกเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพื่อทำ
การเจาะน้ำไขสันหลังและเพาะเชื้อในเลือด และรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ การที่จะวินิจฉัยภาวะ
นี้ได้ถูกต้องต้องตระหนักถึงภาวะนี้  ภาวะนี้พบบ่อยในฤดูร้อน พบได้ทั้งทารกที่กลับไปอยู่บ้าน
หรือยังในโรงพยาบาลในหอผู้ป่วยที่ไม่ได้ปรับอากาศ หรือรับการรักษาด้วยเครื่องส่องไฟสำหรับ
ภาวะตัวเหลือง สำหรับทารกที่ออกจากโรงพยาบาล การซักประวัติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยมักได้ว่า 
อาศัยในบ้านที่มีหลังคาสังกะสี หรืออยู่ที่ชั้นบนสุดของบ้านซึ่งชิดหลังคาบ้าน หรือบ้านที่ปิด
ประตูและ/หรือหน้าต่างมิดชิด และ/หรือทารกได้รับการสวมเสื้อและห่อผ้า หรือห่อผ้าตลอดเวลา 
เนื่องจากกลัวทารกหนาว  อาการของทารกมีดังนี้ ระยะแรกทารกจะหงุดหงิด เมื่อร้อนมากขึ้น 
ทารกมีการเคลื่อนไหวลดลง หายใจเร็วและแรง หรือหยุดหายใจ ซึม การสัมผัสผิวหนังพบว่าอุ่น
กว่าปรกติ การวินิจฉัย อาศัยประวัติดังกว่า และการวัดอุณหภูมิทวารหนักที่พบว่าสูงกว่า
37.5 oซ  ทำการวินิจฉัยแยกโรคจากภาวะติดเชื้อในเลือดโดยให้การรักษา (therapeutic 
diagnosis) ดังนี้ 
            อุณหภูมิทวารหนักสูงเกิน 39 o ซ ให้เช็ดตัวด้วยน้ำที่มีอุณหภูมิ 35 o ซ จนกว่าอุณหภูมิ
กายปรกติ  
            อุณหภูมิทวารหนักอยู่ระหว่าง 37.5-39 o ซ ให้ถอดเครื่องห่อหุ้มกายทารกออก และให้
ทารกอยู่ในอุณหภูมิห้องที่เย็นจนกว่าอุณหภูมิกายปรกติ  เมื่ออุณหภูมิกายทารกกลับมาปรกติ 
ทารกจะหายซึมและมีการเคลื่อนไหวปรกติ (active)  การวินิจฉัยด้วยการรักษานี้ สามารถทราบ
ผลภายใน 1 ชั่วโมง หากอุณหภูมิลดลงแล้ว ทารกยังมีอาการซึม จึงรับตัวไว้และให้การรักษา
ด้วยยาต้านจุลชีพ   
         ภาวะตัวเย็นในทารกแรกเกิดหมายถึง อุณหภูมิทวารหนักต่ำกว่า 36.5 o ซ แต่ทารกอาจมี
อาการผิดปรกติตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 36.8 o ซ ปัญหานี้พบได้บ่อยกว่าภาวะอุณหภูมิกายสูง และ
เกิดได้กับทารกที่อยู่ในโรงพยาบาล เนื่องจากปรับอุณหภูมิห้อง (ห้องคลอด ห้องเด็กอ่อน) ที่ทารก
อยู่ต่ำเกินทารกที่อยู่ที่บ้านพบภาวะนี้บ่อยในฤดูกาลที่มีอากาศเย็น คือฤดูหนาวและฝน หรือพบได้
ทุกฤดูกาลหากทารกอยู่ในห้องที่ปรับอุณหภูมิต่ำเกิน อาการเริ่มแรกคือ ซึม ดูดนมช้า ดูดนมน้อยลง
หรือไม่ดูดนม อาเจียน ท้องอืด น้ำหนักไม่ขึ้น หรือน้ำหนักลดเป็นต้น การวินิจฉัยแยกโรคด้วยการ
รักษา (therapeutic diagnosis) จากการติดเชื้อ โดยทำการอุ่นทารกในตู้อบหรือเครื่องให้ความอบอุ่น 
เมื่อทารกมีอุณหภูมิกายปรกติ ทารกจะหายซึมและมีการเคลื่อนไหวปรกติ (active)  การวินิจฉัยด้วย
การรักษานี้สามารถทราบผลภายใน 1 ชั่วโมง หากอุณหภูมิปรกติแล้ว ทารกยังมีอาการซึม จึงรับตัวไว้
และให้การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพ   
การป้องกัน   ต้องตระหนักอันตรายของภาวะตัวเย็นและอุณหภูมิกายสูง และให้การป้องกัน
                     โดยปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม อย่าให้มีลมธรรมชาติหรือกระแส
                     อากาศจากพัดลมหรือเครื่องทำความเย็นพัดผ่านตำแหน่งที่ทารกนอน หรือตู้อบ 
                     สวมหมวกและเสื้อและห่มผ้าให้ทารกในฤดูกาลที่อากาศเย็นในฤดูกาลที่อากาศร้อน 
                     ให้อยู่ในห้องที่อากาศร้อนน้อยที่สุดในบ้าน หลีกเลี่ยงการหุ้มห่อผ้าที่หนาเกินและ
                     การห่มผ้า  
เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด. กรุงเทพ ฯ: เรือนแก้วการพิมพ์, 
     2536:60.