ผิวหนังชันนะตุ

        
         ภาวะนี้ปรากฏอาการ 2-3 สัปดาห์หลังคลอด  และมักหายใน 3-4 เดือน ผิวหนังที่เป็นโรคมีลักษณะเป็น
รอยกว้างแดง (patchy redness) อาจพบรอยแยก (fissure) บางครั้งมีน้ำเหลืองซึมและเยิ้ม (weeping)  
ผิวหนังที่เป็นอาจมีไขมันที่แห้งเป็นสะเก็ด (greasy scaling) ติด หากเป็นที่หนังศีรษะ มีสะเก็ดแห้งกรัง 
(crust) เกาะแน่น  ปรกติมักพบที่ใบหู หนังศีรษะ รักแร้ รอยพับของขาหนีบ  ผู้เขียนพบภาวะนี้ในทารก
แรกเกิดหลายรายที่ถูกพามาในระยะเริ่มแรกของโรคด้วยเรื่องมีน้ำเหลืองไหลจากหูและมีคราบสีเหลือง
ติดปลอกหมอนที่ทารกนอน โดยที่ทารกไม่ได้มีอาการของหวัดนำมาก่อน หากตรวจไม่รอบคอบ 
อาจวินิจฉัยว่าเป็นหูน้ำหนวก  การตรวจพบว่า ใบหูและบริเวณรอบ ๆ รูหูแดงและบวม เมื่อใช้สำลีพัน
ปลายไม้ซับในรูหู สิ่งที่ซึมออกมามีสีคล้ายสบู่ชนิดก้อนใส ไม่ใช้หนองสีเหลืองข้นแบบการติดเชื้อแบคทีเรีย 
เมื่อดูด้วยเครื่องส่องหู ไม่พบหนองในหลอดหูชั้นนอก (external auditory canal) และเห็นแก้วหูปรกติ  
บางรายมาด้วยหลังใบหูแดงและมีรอยแยก หรือมีน้ำเหลือวติดที่คิ้ว
การป้องกัน  เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของภาวะนี้ จึงไม่ทราบวิธีป้องกัน
การรักษา    หลีกเลี่ยงการฟอกสบู่บริเวณที่เป็นผื่น ทาขี้ผึ้ง 1% hydrocortisone หรือ prednisolone 
                   บาง ๆ วันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย  หากมีน้ำเหลืองแห้งกรังเกาะติดหนังศีรษะ ใช้น้ำมันมะกอก
                   เช็ดออกก่อนทายา