สะดือจุ่น

ไส้เลื่อนเหนือสะดือ

       
         สะดือจุ่น (รูปทางขวา) เกิดจากการปิดไม่สมบูรณ์หรือความอ่อนแอของวงรอบสะดือ 
(umbilical ring) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดเส้นใย (fibrous tissue)  ทำให้บางส่วนของ
ลำไส้เล็กและเยื่อบุช่องท้อง (omentum) ผ่านวงรอบสะดือออกมาเวลาที่ความดันในช่องท้อง
ของทารกเพิ่ม ซึ่งสัมพันธ์กับการไอ บิดตัว ร้องไห้ หรือเบ่ง ก้อนมีลักษณะนุ่ม มีผิวหนังคลุม 
และอยู่ข้างใต้สะดือ  ก้อนที่ปูดออกมาสามารถยุบลงได้ง่าย (reducible) วงรอบสะดือมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่น้อยกว่า 1 ซม. ถึง 5 ซม. ภาวะนี้พบบ่อยในทารกน้ำหนักตัวน้อย ก้อน
ที่ปูดอาจผ่านช่องโหว่ที่อยู่แนวกึ่งกลางลำตัวซึ่งเกิดจากขอบใน (medial border) ของกล้ามเนื้อ
ผนังหน้าท้อง (rectus abdominis) ทั้งสองข้างติดกันไม่สนิท (diastasis recti) ทำให้มีก้อนปูด
เหนือสะดือ ภาวะนี้เรียกว่า supraumbilical hernia (รูปทางซ้าย)
การรักษา ภาวะนี้หายได้เองหลังอายุ 1 ปี ขนาดใหญ่อาจหายเมื่ออายุ 5-6 ปี การใช้แถบกาว
                  เหนียวหรือเหรียญปิดทับก้อน ไม่ได้ช่วยให้หาย พบลำไส้ถูกบีบเค้น (strangulation) 
           น้อยมาก หากวงรอบสะดือ กว้างกว่า 2 ซม. ภายหลังอายุ 2 ปี มักไม่ปิดเอง