thai version english  
 
dr-sak
cai
research works
invention
Project
nicu setting
books
weblink
news
site map
 
     
   
     
 
Jirapaet K, JirapaetV. Newborn Physical Examination, 2018

การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด จากศีรษะสู่เท้า
การนำความรู้และทักษะในการตรวจร่างกายของแต่ระบบ ที่ได้แยก ศึกษาอย่างละเอียดมารวมเข้าด้วยกัน ถือเป็นศิลปสำคัญในการตรวจร่างกาย
ทารกแรกเกิด เพื่อให้การตรวจร่างกายเกิดความราบรื่น ต่อเนื่อง และได้รับ ความร่วมมือจากทารกแรกเกิด ผู้ตรวจต้องจัดลำดับสิ่งที่จะตรวจ และ
ทราบ เทคนิคการตรวจที่ควรทำก่อนและหลังในการตรวจแต่ละตำแหน่งของร่างกาย เพื่อลดการเปลี่ยนท่าของทารกและของผู้ตรวจ และ
ทำให้ทารกร้องไห้ ทารก แต่ละรายมีความแตกต่างกันในภาวะสุขภาพและระดับพฤติกรรม (behavioral stages) ผู้ตรวจจึงต้องปรับขั้นตอน
การตรวจให้เหมาะสม ทั้งกับสภาพของ ทารกและความถนัดของผู้ตรวจเอง


     

 
 

Jirapaet K, Jirapaet V. Perinatal Asphyxia, 2001

ภาวะแอสฟิกเซียแรกเกิด
     เป็นภาวะวิกฤติที่มีผลให้ อวัยวะของทารกขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง ทำให้เซลล์เสียหน้าที่และตาย ทารกแรกเกิด ถึง 60% เสียชีวิต และ 25% ที่รอดชีวิต มีความพิการทางสมองและจิตใจ
     บทเรียนนี้ เน้นเรื่องการวินิจฉัย การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ การบริหารยากันชัก แผนการพยาบาล การป้องกัน และแบบสอบความรู้


 
 

Jirapaet K, Jirapaet V. 32 problems in neonates. Bangkok : Ad-Team Creation, 1999.

32 ปัญหาในทารกแรกเกิด
      การดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ความพิการ และการสูญเสีย ทารกต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่ง ได้แก่ ระบบทางการแพทย์ คุณภาพการบริการทาง การแพทย์ และความรู้พื้นฐานทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดของ คุณแม่และคุณพ่อ สองปัจจัยแรก ยังมีปัญหาที่ต้องการเวลาและงบประมาณใน การพัฒนา ปัจจัยที่น่า จะพัฒนาได้เร็วและใช้งบประมาณน้อยที่สุดคือ การให้ ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และการให้ความรู้พื้นฐานแก่คุณแม่และคุณพ่อ เกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลทารกไม่ให้เจ็บป่วย และการสอนให้รู้ ว่าอาการ แสดงอะไรที่บ่งว่าทารกมีความผิดปรกติ และต้องนำทารก ไปพบกุมารแพทย์


1. ทารกนอนมากเกิน
17. ความพิการทางสมองจากภาวะตัวเหลือง Bilirubin encephalopathy
2. เลือดออกใต้เยื่อหุ้มกระดูกของกะโหลกศีรษะ Cephalhematoma
18. ฝีจากวัคซีนวัณโรค BCG abscess
3. เลือดออกใต้พังผืดของกะโหลกศีรษะ Subgaleal hemorrhage
19. ปานแดงชนิดนูน Cavernous hemangioma
4. ตาแฉะจากท่อน้ำตาอุดกั้น Nasolacrimal duct obstruction
20. ขี้กลากน้ำนม Atopic dermatitis
5. ถุงน้ำตาอักเสบ Dacryocystitis
21. ผิวหนังชันนะตุ Seborrheic dermatitis
6. เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบ Conjunctivitis
22. ผื่นผ้าอ้อม Diaper dermatitis
7. เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบจากสารเคมี Chemical conjunctivitis
23. ผื่นผ้าอ้อมจากเชื้อรา Candidal diaper dermatitis
8. เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน Gonococcal ophthalmia
24. ผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย Bullous Impetigo
9. เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบจากเชื้อ Chlamydia trachomatis
25. สะดือหลุดช้า Delayed separation of the cord
10. เยื่อบุนัยน์ตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอื่น Nonspecific conjunctivitis
26. เลือดออกที่สะดือ Bleeding per umbilicus
11. ทารกร้องกวนจากการคัดจมูก Nasal obstruction
27. สะดืออักเสบ Omphalitis
12. การอาเจียน Vomiting
28. สะดือแฉะ Umbilical granuloma
13. ลิ้นถูกตรึง Tongue tie
29. สะดือจุ่น Hernia of the umbilical cord
14. เชื้อราในปาก Oral candidiasis
30. โรคปวดท้องหรืออ้อนสามเดือน Evening colic
15. คอเอียง Sternocleidomastoid tumor
31. อัณฑะไม่ลง Cryptochidism
16. ภาวะตัวเย็นและภาวะอุณหภูมิกายสูง Hypo- and hyperthermia
32. ปากช่องคลอดปิดจากแคมเล็กติดกัน Labial adhesion
 
 

Jirapaet K, Jirapaet V. Normal findings in neonates (3rd ed.). Bangkok : Ad-Team Creation, 1999.

ภาวะปรกติในทารกแรกเกิดทารกแรกเกิด
     หมายถึงทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังเกิด เป็นวัยที่มีภาวะหรือสิ่งปรกติที่ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้อาจทำให้พ่อแม่วิตกกังวลได้ บ่อยครั้งที่พ่อแม่พาทารกไปพบบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำหรือ การรักษาที่ไม่จำเป็นหรือรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่ออันตรายแก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ ภาวะปรกติที่พบได้ในทารกแรกเกิดได้แก่สิ่งต่อไปนี้ิ

1. การสะดุ้งหรือผวา 19. ภาวะเขียวที่มือและเท้า
2. การกระตุก 20. Subconjunctival hemorrhage
3. การบิดตัว 21. Milia หรือ Epidermal inclusion cyst
4. การสะอึก 22. ตุ่มขาวในปาก
5. การหาว 23. ลิ้นขาว
6. การแหวะนม 24. ฟันขึ้นในทารกแรกเกิด
7. ทารกไม่ดูดน้ำ 25. Sebaceous gland hyperplasia
8. การถ่ายอุจจาระบ่อย 26. ริมฝีปากมีเม็ดพองและลอกเป็นแผ่น
9. การไม่ถ่ายทุกวัน 27. Miliaria
10. ร้องเวลาถ่ายปัสสาวะ 28. Erythema toxicum
11. ตัวเหลือง 29. Mongolian spot
12. ผิวหนังลอก 30. นมเป็นเต้า
13. กะโหลกศีรษะเกยกัน 31. ถุงอัณฑะยาน
14. ใบหน้าสองข้างไม่เท่ากัน 32. ถุงอัณฑะโตผิดปรกติ
15. ปานแดงชนิดเรียบ 33. Vaginal discharge และ Vaginal bleeding
16. Traumatic cyanosis 34. Hymenal tag
17. ตัวแดงครั่งซีก 35. ขาโก่ง
18. ผิวหนังลายเหมือนร่างแห 36. รอยบุ๋มที่ก้น
 
     
 
 
     
 

©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560

You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels