|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การใช้ถุงผ้าบรรจุธัญพืชเป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ทารกขณะเคลื่อนย้ายทารก
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์, ศาสตราจารย์ ดร. วีณา จีระแพทย์
|
|
|
องค์การอนามัยโลกเน้นว่า การเคลื่อนย้ายทารกต้องป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ เพราะภาวะนี้มีผลเสียรุนแรงจนอาจทำให้ทารกเสียชีวิตจากการหยุดหายใจ เนื่องจากโรงพยาบาลทั่วประเทศขาดงบประมาณในการจัดซื้อตู้อบ จึงใช้กระเป๋าน้ำร้อนเพื่ออุ่นทารกแทนและพบอันตรายต่อทารกจากกระเป๋าน้ำร้อนสัมผัสผิว ทำให้ผิวไหม้หรือน้ำร้อนรั่วทำให้ผิวหนังพอง
|
|
|
|
งานวิจัยนี้ใช้เมล็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์
น้ำหนัก 1 กก . บรรจุในถุงผ้ายีนที่มีขนาดเท่ากระดาษ A4 อุ่นใน
เตาไมโครเวฟที่มีพลัง 800 วัตต์ โดยตั้งอุณหภูมิสูงสุด และตั้งเวลา
1 นาที เพื่อเป็นแหล่งให้ความร้อน สำหรับอุ่นทารกแรกเกิดขณะ
เคลื่อนย้าย เพื่อทดแทนการขาดตู้อบทารกชนิดสำหรับเคลื่อนย้าย
หรือ ใช้เป็นแหล่งให้ความร้อนเสริมในการเคลื่อนย้ายทารกด้วย
ตู้อบในฤดูกาลที่อากาศเย็นมาก
|
|
|
|
งานวิจัยพบว่า ถุงผ้าธัญพืช ที่อุ่นในเตาไมโครเวฟตาม รายละเอียดที่
กล่าวแล้ว
บรรจุในซองกระดาษน้ำตาล A4 และ ปูทับ ด้วยผ้าขนหนู
หนา 2 ชั้น จะให้อุณหภูมิ
ที่พอเหมาะและปลอดภัยที่สุด
โดยอุณหภูมิ
เฉลี่ยของผ้าขนหนูชั้นที่ 1 ซึ่งอยู่ชิดกับ
ซองกระดาษสีน้ำตาลที่มี
ถุงธัญพืชอยู่ภายในเท่ากับ 42° ซ
ที่ 10 นาที หลังนำออก
จาก
เตาไมโครเวฟ และสูงกว่า 42 ° ซ
นาน 10 นาที ที่ 35 นาทีหลังอุ่น
มีอุณหภูมิ
< 42 ° ซ
และที่ 2 ชั่วโมง อุณหภูมิเท่ากับ 35.6 ° ซ อุณหภูมิ
เฉลี่ยสูงสุดที่ผ้าขนหนู
ชั้นที่ 2 เท่ากับ
39.7 ° ซ
ที่ 15 นาที โดยมีอุณหภูมิ
สูงสุดเท่ากับ 41.0 ° ซ
และ
34.4 ° ซ ที่เวลา 2 ชม. หลังอุ่น
|
|
|
สรุป ถุงผ้ายีนบรรจุธัญพืชสามารถใช้เป็นแหล่งให้ความอบอุ่นแก่ทารกขณะเคลื่อนย้าย เมื่อต้องการใช้ ให้อุ่นถุงธัญพืชในเตาไมโครเวฟที่มีพลัง
800 วัตต์ ตั้งความร้อนสูงสุด และ
เวลา 1 นาที ขยำธัญพืชในถุงผ้าให้เข้ากัน บรรจุถุงผ้าไว้ในซองกระดาษสีน้ำตาล A4 ปูผ้าขนหนูบนซองสีน้ำตาล
1 ชั้น ห่อทารกด้วยผ้าขนหนูผืนที่สอง แล้ววางทารกนอนบน
ผ้าขนหนูผืนที่ 1 ที่มีถุงธัญพืชอยู่ข้างใต้ ภายหลัง 35 นาที ให้นำผ้าขนหนูผืนที่ 1 ออก
แล้วให้ทารกที่ห่อด้วยผ้าขนหนูนอนบนซองสีน้ำตาลต่อไป จนกว่าจะถึงปลายทางที่
ต้องการเคลื่อนย้ายทารก ธัญพืชที่บรรจุในถุงสามารถใช้ซ้ำได้ 100 ครั้ง
|
|
|
ข้อควรระวัง การใช้เวลาอุ่นนานเกิน 1 นาที จะทำให้เกิดผิวหนังไหม้ (ดังภาพ)
|
|
|
|
|
|
แหล่งอ้างอิง
Jirapaet K. Jirapaet V. Assessment of cereal-grain warming pad as a heat source for newborn transport.
J Med Assoc Thai 2005; 88 ( Suppl 8 ): S 203-10
Full text .
|
|
|
|
|
|
วิธีการใช้ถุงผ้าบรรจุธัญพืชเป็นแหล่งให้ความร้อนแก่ทารกขณะเคลื่อนย้ายทารก
|
|
|
บรรจุเมล็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์
น้ำหนัก 1 กก. ลงในถุงผ้ายีน ขนาดเท่ากระดาษ A4
|
|
|
นำถุงผ้ายืนที่บรรจุเมล็ดถั่วเขียวอุ่นในเตาไมโครเวฟ
ที่มีพลัง 800 วัตต์ ที่ระดับอุณหภูมิสูงสุด 1 นาที
|
|
|
ขยำถุงธัญพืชเพื่อให้ความร้อนในถุงกระจายทั่วถึง
จากนั้นบรรจุถุงผ้าลงในซองกระดาษสีน้ำตาลขนาด A4
|
|
|
นำผ้าขนหนูมาปูทับ
ลงบนซองสีน้ำตาล
|
|
|
ห่อทารกด้วยผ้าขนหนูอีกผืน แล้วางทารก
นอนบนผ้าผืนแรกที่มีถุงธัญพืชอยู่ข้างใต้
|
|
|
จากนั้น 35 นาที ให้นำผ้าขนหนูผืนที่วางบนซองสีน้ำตาลออก
นำทารกที่ห่อด้วยผ้าขนหนู นอนบนซองสีน้ำตาล จนกว่า
จะถึงปลายทารที่ต้องการ
|
|
|
คำเตือน การใช้เวลาอุ่นในเตาไมโครเวฟนานเกิน 1 นาที จะทำให้เกิดผิวหนังไหม้
หมายเหตุ : เมล็ดธัญพืชที่บรรจุในถุงสามารถอุ่นในเตาไมโครเวฟซ้ำได้ 100 ครั้ง
|
|
|
แหล่งอ้างอิง
Jirapaet K. Jirapaet V. Assessment of cereal-grain warming pad as a heat source for newborn transport.
J Med Assoc Thai 2005; 88 ( Suppl 8 ): S 203-10.
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560
You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels
|
|
|
|
|
|
|
|