|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K, Jirapaet V. Neonatal Health Assessment. Bangkok: OS Printing House, 2022. |
การประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิด
เป็นตำราที่ให้ความรู้ในการรวบรวมข้อมูลและ การให้เหตุผลในการวินิจฉัยภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรค/ปัญหาสุขภาพได้ถูกต้อง ตำราให้รายละเอียดวิธีรวบรวมประวัติสุขภาพของทารกแรกเกิด หลักการตรวจร่างกาย วิธีตรวจอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย วิทยาการก้าวหน้าที่ช่วยการประเมินภาวะสุขภาพ การแปลผลภาวะปรกติและผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด และกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการวินิจฉัยภาวะสุขภาพของทารกแรกเกิด
เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของผู้อ่าน ตำราแสดงตัวอย่างภาพทางกายวิภาคศาสตร์ ภาพวิธีประเมินภาวะสุขภาพ และภาพของภาวะต่างๆ ในทารกแรกเกิด จำนวน 380 ภาพ ซึ่งใช้เวลาในการรวบรวมนานถึง 10 ปี
คลิกชมสารบัญ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
195.00 บาท
(สั่งซื้อตอนนี้ 195 ลดพิเศษ 170)
|
Jirapaet K, Jirapaet V. Atlas of normal findings and common problems in neonates. Bangkok: Dan Sutha Press, 2012.
|
ภาวะปรกติและผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด:
เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด ที่เกิดได้ตามธรรมชาติ และไม่ต้องการการรักษาใด ๆ
ส่วนที่ 2 ภาวะผิดปรกติที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด ที่บุคลากรทางสุขภาพต้องให้การดูแลรักษาได้ถูกต้อง
ตั้งแต่เริ่มแรก และพ่อแม่่ต้องรีบนำทารกไปโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดความเจ็บป่วย
รุนแรงที่อาจนำไปสู่ความพิการ หรือการสูญเสียทารก
พร้อมภาพของภาวะต่าง ๆ กว่า 150 ภาพ ซึ่งจัดพิมพ์ในระบบออฟเซต 4 สีตลอดเล่ม เพื่อให้เหมือนจริง
และง่ายต่อความเข้าใจ
สำหรับแพทย์ พยาบาล นักศึกษา และพ่อแม่ ในการสังเกตอาการและ
การตัดสินใจให้การดูแลรักษา
ที่เหมาะสมแก่ทารก
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K, Jirapaet V. Principle of basic newborn care. Bangkok :Venteran Welfare Authority Press, 2002. |
หลักการ การดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน |
- การพัฒนามาตรฐานการดูแลทารกแรกเกิด
-
ทารกแรกเกิดที่มีความ เสี่ยงสูง (High-risk neonates)
- การดูแลทารกแรกเกิดตามเกณฑ์การประเมินลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
-
การปฎบัติที่มีอันตรายต่อการดูแลทารกแรกเกิด,
-
การควบคุมอุณหภูมิกายของทารกแรกเกิด
-
การให้ออกซิเจนในทารก แรกเกิด (Oxygen therapy in neonates)
-
การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก (Maternal-infant bonding)
- การให้น้ำนม ปริมาณน้อย (Minimal enteral feeding)
-
การให้น้ำนมแม่แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดและ ทารกแรกเกิดที่เจ็บป่วย
- การบีบน้ำนมจากเต้า (Hand expression of breastmilk)
- การป้อนนม ด้วยถ้วย (Cup feeding)
-
การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดาในทารกแรกเกิด
-
การใช้ เครื่องช่วยหายใจชนิด synchronized ventilation
- การพยาบาลเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจ
- การลดเวลาการอยู่ในโรงพยาบาลของทารกเกิดก่อนกำหนด
- การใช้เครื่องติดตาม (Monitoring)
- การขนย้ายทารกแรกเกิด (Infant transport)
คลิกอ่านหนังสือฟรี |
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K. Advanced technology in neonatal mechanical ventilation: synchronized ventilation and pressure support ventilation. Union Creation, 2001. |
เทคโนโลยีใหม่ของการช่วยหายใจในทารกแรกเกิด
จุดประสงค์ของผู้นิพนธ์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้คือให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบหลักการเบื้องต้นของการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดา เพราะเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีวิธีช่วยหายใจแบบใหม่ เข้าใจและสามารถใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีวิธีช่วยหายใจแบบใหม่ได้อย่างถูกต้อง เต็มศักยภาพของเครื่อง และเกิดประสิทธิภาพเต็มที่ เพื่อให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ยืดอายุการใช้งานชองเครื่อง และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทารกอันนำไปสู่การรอดชีวิตของทารก สารบัญดังนี้ |
- การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดธรรมดาในทารกแรกเกิด
- Flow synchronized ventilation
- Pressure Support ventilation
- ค่าปรกติของก๊าซในเลือด
คลิกอ่านหนังสือฟรี
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K. Normal findings in neonates (3rd ed.). Bangkok : Ad-Team Creation, 1999. |
ภาวะปรกติในทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด หมายถึงทารกอายุ 4 สัปดาห์หลังเกิด เป็นวัยที่มีภาวะหรือสิ่งปรกติที่ไม่พบในวัยอื่น ภาวะหรือสิ่งปรกตินี้อานทำให้พ่อแม่วิตกกังวลได้ บ่อยครั้งที่พ่อแม่พาทารกไปพบบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเป็นภาวะปรกติ และได้รับคำแนะนำหรือการรักษาที่ไม่จำเป็น หรือรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล หรือหาหยูกยามารักษาเอง ซึ่งอาจก่ออันตรายแก่ทารกได้ ภาวะปรกติเหล่านี้ไม่ต้องให้การรักษาใด ๆ
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K. 32 problems in neonates. Bangkok : Ad-Team Creation, 1999. |
32 ปัญหาในทารกแรกเกิด
การดูแลทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ความพิการ และการสูญเสีย ทารกต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่ง ได้แก่
ระบบทางการแพทย์ คุณภาพการบริการทาง การแพทย์ และความรู้พื้นฐานทางการแพทย์เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดของคุณแม่และคุณพ่อ สองปัจจัยแรก ยังมีปัญหาที่ต้องการเวลาและงบประมาณใน การพัฒนา ปัจจัยที่น่า จะพัฒนาได้เร็วและใช้งบประมาณน้อยที่สุดคือ การให้ความรู้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ และการให้ความรู้พื้นฐานแก่คุณแม่และคุณพ่อ เกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลทารกไม่ให้เจ็บป่วย และการสอนให้รู้ ว่าอาการ แสดงอะไรที่บ่งว่าทารกมีความผิดปรกติ และต้องนำทารก ไปพบกุมารแพทย์
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K. Use of breastmilk in sick neonates and preterm infants. Bangkok : Union Creation, 1999. |
การให้นมแม่แก่ทารกก่อนกำหนด
เป็นหนึ่งในหลักการของการดูแลทารกแรกเกิดซึ่งมีอยู่ 5 ข้อ คือ การดูแลอุณหภูมิกายให้ปรกติ การดูแลทางเดินหายใจให้โล่งและให้ออกซิเจนในเลือดปรกติ การป้องกันการติดเชื้อ การให้อาหารและสารน้ำ และการรักษาเฉพาะโรค บุคลากรทางการแพทย์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและการตายของทารกแรกเกิด สารบัญดังนี้ |
- สายสัมพันธ์แม่และลูก (Parent-infant bonding)
- การให้น้ำนมปริมาณน้อย (Minimal enteral feeding)
- การให้น้ำนมแม่แก่ทารกก่อนกำหนด
- การบีบน้ำนมจากเต้า (Hand expression of breastmilk)
- การป้อนนมด้วยถ้วย (Cup feeding)
- การเพิ่มสารอาหารในน้ำนมแม่ (Fortification of human milk)
คลิกอ่านหนังสือฟรี
|
|
|
|
|
|
|
Jirapaet K. Neonatal respiratory care. Bangkok: Roen-Kaew Print, 1993. |
การดูแลระบบการหายใจในทารกแรกเกิด
ตำราเกี่ยวกับระบบการหายใจในทารกแรกเกิด มีรายละเอียดของวิธีป้องกันการเกิดการเจ็บป่วยทางระบบการหายใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบการหายใจ สรีรพยาธิวิทยาของโรคที่ทำให้ทารกมีภาวะหายใจวาย และวิธีปฏิบัติรักษาด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพที่มีอุปกรณ์การแพทย์จำกัด พร้อมด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้อง และการดัดแปลงเครื่องมือจากอุปกรณ์ที่มีราคาถูก สารบัญประกอบด้วย |
- Perinatal Asphyxia
- การช่วยคืนชีพในทารกแรกเกิด
- การควบคุมอุณหภูมิกายของทารกแรกเกิด
- แนวทางการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินหายใจในทารกแรกเกิด
- เครื่องช่วยหายใจและหลักกการช่วยหายใจในทารกแรกเกิด
- การช่วยหายใจด้วยความถี่สูง
- การบริบาลทารกที่ต้องการการช่วยหายใจ
- Respiratory Distress Syndrome
- Transient Tachypnea of the Newborn
- การสูดสำลักขี้เทา
- ภาวะแรงดันเลือดของปอดสูงในทารกแรกเกิด
- การหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกำหนด
- การบาดเจ็บของปอดจากแรงดัน
- Bronchopulmonary Dysplasia
- การให้อาหารทางหลอดเลือดส่วนปลายในทารกแรกเกิด
- การดัดแปลงเครื่องมือสำหรับทารกแรกเกิด
- ค่าปรกติในทารกแรกเกิด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560
You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels
|
|
|
|
|
|
|
|