thai version english  
 
dr-sak
cai
research works
invention
Project
nicu setting
books
weblink
news
site map
 
     
 
 
 

นวัตกรรมทางการแพทย์สาขาวิชาทารกแรกเกิด
 “เครื่องวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมาด้วยตา”
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

 
 
       ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงสูงต่อการมีสมองพิการจากภาวะตัวเหลือง ทารกแรกเกิดจึงต้องได้รับการตรวจระดับบิลิรูบินในเลือดขณะอยู่ในโรงพยาบาลหากมีภาวะเหลือง และ ทุกรายก่อนกลับบ้าน เพื่อการวินิจฉัยแยกโรค (ภาวะเหลืองที่เป็นภาวะปรกติกับพยาธิสภาพ) การวางแผนการรักษา และการเฝ้าติดตาม
       คุณภาพการดูแลทารกแรกเกิดของประเทศไทย ต้องถูกจำกัดจากการขาดเครื่องวัดระดับบิลิรูบิน (bilirubin tester) เนื่องจากมีราคาแพง (150,000 บาท) โดยเฉพาะทารกที่เกิดในโรงพยาบาลชุมชน (719 แห่ง) ซึ่งมีจำนวน การคลอดสูงถึง 285,512 คน/ปี คิดเป็นร้อยละ 47.56 ของคลอดทั่วประเทศ (กรมอนามัย 2547)
 
 
 
 

เครื่องวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมาด้วยตา จึงถูกคิดค้น เพื่อให้ทารกแรกเกิดได้รับการตรวจระดับบิลิรูบินในเลือดตามมาตรฐานของอารยประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันภาวะสมองพิการจากภาวะตัวเหลือง โดยเป็นนวัตกรรมการคิดค้นเครื่องวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมาด้วยตาเป็นครั้งแรกในโลกและได้รับการจด อนุสิทธิบัตรหมายเลข 503 ปี พ.ศ. 2544

 
 
กระบวนการคิดค้นและพัฒนา
การคิดค้นแถบสี ( ระยะเวลา 3 ปี)
       สร้างแถบสีโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้แถบสีมีความแม่นยำใกล้เคียงกับการอ่านด้วยเครื่อง billirubin tester สามารถวัดบิลิรูบินในพลาสมาที่ระดับต่าง ๆ จาก 2-30 มก./ดล. และมีระดับสีคงที่เมื่อผลิตซ้ำ
การออกแบบ booth (ระยะเวลา 1 ปี)
       พัฒนา booth จากทฤษฎีเกี่ยวกับความสว่าง การซึมซับสีของจอภาพ (retina) และการหักเหของแสง โดยผลิตให้มีขนาดเล็กลง เพื่อลดพื้นที่ที่วางและง่ายต่อการเคลื่อนย้าย และใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่คงทน
 
 
การวิจัยเพื่อศึกษาความแม่นยำของการตรวจระดับบิลิรูบินในเลือด
       ความแตกต่างระหว่างการอ่านสีบิลิรูบินในพลาสมาด้วยแถบเทียบสีกับเครื่อง bilirubin tes ter โดยคนอ่านคนเดียว จากจำนวนตัวอย่างเลือด 2,000 ตัวอย่าง
 
 
 
 
ค่าแตกต่างระหว่างการอ่านสีบิลิรูบินในพลาสมาด้วยแถบเทียบสีกับเครื่อง bilirubin tes ter
โดยผู้อ่านสองคน (interrater reliability) จากจำนวนตัวอย่างเลือด 309 ตัวอย่าง
 
 
 
 
ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลงานประดิษฐ์
• โรงพยาบาลชุมชน สามารถตรวจระดับบิลิรูบินในเลือดให้แก่ทารกขณะอยู่ในโรงพยาบาล และก่อนกลับบ้านได้ตลอด 24 ชม . เพื่อป้องกันสมองพิการจากบิลิรูบิน
• ลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลชุมชน ในการส่งเลือดไปตรวจระดับบิลิรูบินที่โรงพยาบาลจังหวัด
• โรงพยาบาลชุมชนสามารถพัฒนาการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐาน ได้แก่ การส่องไฟรักษา ภาวะตัวเหลือง เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรด้านสถานที่และบุคลากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่า
• ส่งเสริมให้ลูกและพ่อแม่อยู่ด้วยกัน จากการที่ลูกไม่ถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งช่วย ส่งเสริมการให้นมแม่ การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูก ลดการทอดทิ้งลูก และ ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เพราะทารกไม่ต้องอยู่อย่างแออัดในโรงพยาบาลจังหวัด
• ลดการเสียเวลา และค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ และญาติในการเดินทางไปเยี่ยมทารก
• ลดการเสียงานของพ่อ หากต้องหยุดงานเพื่อไปเยี่ยมลูกและแม่ที่โรงพยาบาลจังหวัด เพราะ บางแห่งอยู่ห่างกัน 100 กม
• ช่วยพัฒนาการดูแลทารกแรกเกิดขั้นพื้นฐานของประเทศทั้งโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาล จังหวัด ให้ได้ตามมาตรฐานสากล เพราะทารกที่มีภาวะเหลืองทั้งจังหวัดไม่ต้องถูกส่งต่อไป แออัดอยู่ในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งมีทรัพยากรด้านสถานที่และบุคลากรไม่เพียงพอ
• ช่วยพัฒนาการสาธารณสุขด้านทารกแรกเกิดของประเทศ ให้ได้มาตรฐานตามอารยประเทศ เพราะสามารถวัดระดับบิลิรูบินในเลือดทารกก่อนกลับบ้าน
 
 
อุปกรณ์ เพื่อควบคุมมาตรฐานในการอ่านเทียบสี
     1. Booth สีเทาและแป้นวางสำหรับควบคุมมาตรฐานความสว่างและตำแหน่งการมองเทียบสี
     2. แถบสีมาตรฐาน (bilirubin color scale)
     3. ที่ยึดหลอดตัวอย่างเลือดที่ต้องการตรวจระดับบิลิรูบินในพลาสมา
     4. ชุดสำหรับฝึกการอ่านเทียบสี ( t est it)
     5. คำแนะนำในการอ่านเทียบสี
     6. ผ้าคลุมตู้ เพื่อการเก็บรักษาอุปกรณ์
 
 
 
 
วิธีวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมา
– เจาะเลือดใส่หลอดฮีมาโทคริต ให้มีปริมาณเลือดประมาณ 4 ใน 5 ของความยาวของหลอด
– นำหลอดฮีมาโทคริตที่บรรจุเลือดไป centrifuge เพื่อให้เม็ดเลือดแดงแยกชั้นจากพลาสมา
 
 
วิธีเทียบสี
– แสงภายนอก booth รบกวนการเทียบสี ต้องดับไฟในห้องเวลาเทียบสี
– หลอดฮีมาโทคริตบรรจุตัวอย่างเลือดต้องเช็ดให้ปราศจากคราบเลือดและกาว
– วางหลอดเลือดเข้ากับตัวยึด
– ผู้เทียบสีนั่งบนเก้าอี้ ปรับระดับที่นั่งให้สูง ให้ระดับตาอยู่ระดับเดียวกับที่บอกระดับสายตา
– ตาต้องห่างจากแป้นวางแถบสีไม่เกิน 1 ฟุต
– ให้หลอดฮีมาโทคริตส่วนพลาสมาอยู่ที่ช่องว่างระหว่างแถบสี
– ต้องให้สายตาอยู่ในแนวตั้งฉากกับแถบสี
– เทียบสีจากสีที่อ่อนไปหาสีที่เข้มทีละช่องว่าง (จากด้านซ้ายไปยังด้านขวาของผู้อ่าน) จนกว่าได้แถบสีที่ มีความเข้มเท่ากับตัวอย่างเลือด
– เมื่อได้แถบสีที่มีความเข้มเท่ากับตัวอย่างเลือด ยืนยันการอ่านโดยหลับตาประมาณ 20 วินาที แล้วลืมตา เพื่อให้แน่ใจว่าสีพลาสมาและแถบสีเท่ากัน อ่านค่า บิลิรูบินของแถบสีนั้นจากตัวเลขที่อยู่ข้างใต้และตรง กับแถบสี
– หากสีพลาสมาเข้มกว่าแถบสีทางซ้ายมือ แต่อ่อนกว่าแถบสีทางขวามือ ให้อ่านค่าเท่ากับค่ากึ่งกลาง ระหว่างค่าแถบสีทั้งสอง จำนวนตัวอย่างเลือดในการเทียบสีแต่ละครั้ง ไม่ควรมีเกิน 5 ตัวอย่าง หากเกิน 10 ตัวอย่าง ให้พักโดยการมองที่มืดหรือหลับตาประมาณ 5-10 นาที หรือพักการเทียบสีไว้ก่อนแล้วกลับมาเทียบสีใหม
 
 
การเผยแพร่และใช้งาน
 
 
ระดับนานาชาติ - At the 12th ASEAN Pediatric Federation Conference on 27th November 2004
 
 
 
 
ระดับชาติ - การประชุมวิชาการ ประจำปี 2548 เรื่อง “ BEST PRACTICE IN NEONATAL CARE ”
 
 
 
 
การใช้งานทางคลินิก - นำไปใช้งานที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
 
 
 
 
รางวัล
เครื่องวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมาด้วยตาสำหรับทารกแรกเกิด 
ได้รับรางวัลชมเชย รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2549 จากสภาวิจัยแห่งชาติ
 
 
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว)
 
 
 
 
สถานที่ติดต่อ
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
โครงการเครื่องวัดระดับบิลิรูบินในพลาสมาด้วยตาสำหรับทารกแรกเกิด
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ตึกโกศล ชั้น 4 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถ. พรานนก เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร./โทรสาร 02-4182560
 
 
 
 
     
 
 
     
 

©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560

You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels