|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง รุ่นที่ 4 (Phototherapy lamp)
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
|
|
|
แนวคิดในการพัฒนาเครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง
ภาวะตัวเหลืองพบประมาณ 30-50% ของทารกแรกเกิด และมีอุบัติการณ์สูงขึ้นในทารกเกิด ก่อนกำหนดการรักษาด้วยเครื่องส่องไฟ (phototherapy) เป็นวิธีการที่ใช้กันแพร่หลายและได้รับ การพิสูจน์ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยมานานกว่าสามทศวรรษ หากให้การรักษาด้วยเครื่อง ส่องไฟแล้วไม่ได้ผล การเปลี่ยนถ่ายเลือด เพื่อลดระดับบิลิรูบินในเลือดจะป้องกันเซลล์สมองถูกทำลาย ทั้งนี้ทารกอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ติดต่อทางเลือด ได้แก่ ตับอักเสบ มาเลเรีย และเอ็ชไอวี เป็นต้น เครื่องส่องไฟที่มีประสิทธิภาพในการลดระดับบิลิรูบินในเลือด ทนทาน และทดแทน เครื่องที่ผลิตจาก ต่างประเทศซึ่งตัวเครื่องและหลอดมีราคาสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็น
|
|
|
วัตถุประสงค์
เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช สามารถใช้รักษาภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิด โดยให้ irradiance 5.5 ถึง 30.4 ไมโครวัตต์/ตร.ซม./nm ในการลดระดับบิลิรูบินในเลือด
|
|
|
ลักษณะของเครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง
ลักษณะทั่วไป
โคมโลหะมีขนาดกว้าง 36 ซม. ยาว 65 ซม. หนา 8 ซม. ตั้งอยู่บนเสาที่มีฐานล้อเลื่อน เครื่องมีน้ำหนักเพียง 9 กก. ทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวกด้วยคนเพียงคนเดียว
ลักษณะพิเศษ
1. ตัวโคมยึดกับเสาด้วยตลับลูกปืน ทำให้ปรับหมุนได้ 180 องศา จึงสามารถนำมาส่องทารก ได้ทุกทาง และง่ายต่อการจัดเก็บเมื่อเลิกใช้งาน
2. สามารถเลื่อนระดับของโคมให้อยู่สูงหรือต่ำจากทารกตามต้องการ
3. ภายในโคม
- มีหลอดไฟสีฟ้า (special blue light ที่ให้ peak emission 450 nm) 18 วัตต์ 6 หลอด ซึ่งเป็นหลอดไฟที่ใช้ในเครื่องส่องไฟ สำหรับ
ภาวะตัวเหลืองในประเทศที่พัฒนาและมีราคาประมาณหลอดละ 280 บาท
- ใช้ electronic ballard เพื่อลดอุณหภูมิรอบตัวทารก
- มีแผ่นสะท้อนแสงบุภายในโคม เพื่อเพิ่มพลังงานแสง และเพิ่มประสิทธิภาพของการลด ระดับบิลิ-รูบินในเลือด
4. เมื่อเปิดใช้งาน มีมาตรบอกจำนวนชั่วโมงการใช้งานของหลอดไฟ ทำให้ไม่ต้องจดบันทึกเวลาด้วยมือ
5. ฐานมีความกว้าง 31 ซม. ยาว 60 ซม. และสูงจากพื้น 100 ซม. สามารถสอดฐานเข้า ใต้ตู้อบทารกทางด้านศีรษะหรือปลายเท้าของทารก
จึงไม่ขัดขวางการให้การรักษาพยาบาล
|
|
|
ข้อพิสูจน์ทางการวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ
เครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช
ประสิทธิภาพของการลดบิลิรูบินในเลือด มีความสัมพันธ์โดยตรงกับพลังงานแสง irradiance ของเครื่องส่องไฟ โดยประสิทธิภาพของการลดบิลิรูบินในเลือดจะเริ่มปรากฏที่ irradiance 4 ไมโครวัตต์/ตร.ซม./ nm, Irradiance และประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นตาม irradiance ที่เพิ่มขึ้น โดยมีระดับสูงสุดที่ 34 ไมโครวัตต์/ตร.ซม./nm Irradiance สูงเกินกว่านี้พบว่าไม่ช่วยลดระดับ บิลิรูบินในเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด จึงใช้ irradiance 4-34 ไมโครวัตต์/ตร.ซม./nm การวิจัยเครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช พบว่ามีประสิทธิภาพในการลดบิลิรูบิน ในเลือดทัดเทียมถึงมากกว่ามาตรฐานของเครื่องผลิตจากต่างประเทศ (ขึ้นกับยี่ห้อ) โดยเครื่อง ส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง-ศิริราช สามารถเพิ่มระดับ irradiance 5.5 ถึง 30.4 ไมโครวัตต์/ ตร.ซม./nm ทั้งนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มระดับได้ตามความต้องการ ขึ้นกับจำนวนหลอดไฟ ชนิดของ หลอดไฟ การปรับระดับความสูงของโคมจากตัวทารก และการกั้นผ้าที่โคมไฟ (ผลการวิจัยแสดงในตาราง)
|
|
|
|
|
|
ข้อสังเกตุ
- การปรับระยะห่างเพื่อให้โคมใกล้ตัวทารกจะให้พลังงานสูงขึ้น บริเวณที่ตรงกับกลางโคม จะให้พลังงานสูงกว่าบริเวณตรงกับส่วนขอบโคม เวลาใช้จึงต้องจัดให้ทารกอยู่ตรงกับ ส่วนกลางของโคม
- การกั้นผ้าช่วยให้แสงไม่กระจาย เป็นการช่วยเพิ่ม irradiance แต่อาจทำให้อุณหภูมิรอบตัว ทารกสูงขึ้น การติดผ้าที่ไม่เพิ่มอุณหภูมิกายของทารก ให้ติดผ้าขาวตั้งแต่ขอบล่างของโคม ลงมา 20 ซม. ไม่คุมทั้งโคมเพราะทำให้อุณหภูมิกายในโคมสูงขึ้น มีผลให้หลอดไฟเสื่อมเร็วขึ้น
|
|
|
ประสิทธิภาพในการลดบิลิรูบินในเลือดของทารกแรกเกิด
ผลการวิจัยในทารกแรกเกิดที่มีภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง พบว่าเครื่องส่องไฟสำหรับภาวะ ตัวเหลือง-ศิริราช สามารถลดอุบัติการการถ่ายเปลี่ยนเลือด (blood exchange transfusion) ของหน่วยทารกแรกเกิด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลลงถึง 4 เท่า
|
|
|
รูปแสดงการใช้งานเครื่องส่องไฟสำหรับภาวะตัวเหลือง
|
|
|
|
|
|
อนุสิทธิบัตร
Siriraj Phototherapy lamp ได้รับอนุสิทธิบัตรเลขที่ 623 อนุสิทธิบัตรโดย ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
|
|
|
|
|
|
สถานที่ติดต่อ
ศาสตราจารย์ นพ. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ตึกโกศล ชั้น 4 โรงพยาบาลศิริราช เลขที่ 2 ถ. วังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. 10700
โทร./โทรสาร 02-4182560 อีเมล์ ksnewborn.si@gmail.com
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
©Copyright 2001 Professor Kriangsak Jirapaet
Department of Pediatrics, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University.Tel./Fax. 02-4182560
You need Download Flashplayer 8 to view this site | Resolution 1440 by 900 Pixels
|
|
|
|
|
|
|
|